วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กลลวงจากฉลากอาหารสำเร็จรูป ไม่ดูให้ดีๆ อาจเป็นภัยได้

5/02/2557 Posted by Unknown No comments
          การเติบโตอย่างรวดเร็วของร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน มินิมาร์ท ซุปเปอร์มาเก็ท หรือ ไฮเปอร์มาร์เก็ท ทำให้อาหารการกินของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป อาหารฟาสฟูดส์ อาหารสำเร็จรูป ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ของการบริโภคที่หลายคนฝากท้องไว้ ในยามรีบเร่ง และ ในยามปกติ เพราะเข้าถึงง่าย สะดวก สะอาด ดูดี ทำให้มันใจว่าเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จริงหรือ?

          สารกันบูด ในขนมปัง ขนมอบกรอบ พร้อมบริโภค จากการสุ่มสำรวจ ขนมปังอบกรอบที่ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ต และร้านเบเกอร์รี่ โดยศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ พบว่า  5 ใน 14 ตัวอย่างมีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน 




          และอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ระบุว่า " ไม่ใช้วัตถุกันเสีย " กลับพบสารกันเสียที่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด ซึ่งเข้าข่ายกระทำความผิด ทั้งใส่สารกันบูดเกินและความผิดฐานฉลากปลอม ซึ่งบทลงโทษของการกระทำความผิด ตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2552 คือ ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทและการทำผิดฐานฉลากปลอม คือ โทษจำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี ปรับ 5,000-100,000 บาท




          กรณีอาหารแช่แข็งและอาหารปรุงสำเร็จรูป ในการส่มสำรวจกลุ่มอาหารแช่เย็นและอาหารแช่แข็ง พบความไม่ตรงไปตรงมาอย่างไม่น่าเชื่อ หากไม่ดูฉลากก็ไม่มีทางรู้ว่านี่ไม่ใช่เนื้อหมูแท้ แต่มีเนื้อไก่ปนผสมอยู่ในสัดส่วนที่เกือบจะเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น กุ้งบอมบ์ ชื่อเป็นกุ้ง ถ้าดูส่วนผสมจะพบว่ามีส่วนผสมของปลาในสัดส่วนที่มากกว่ากุ้งถึง 3 เท่า หรือ ลูกชิ้นกุ้ง มีส่วนผสมของปลาที่มากกว่ากุ้งอยู่ถึง 3 เท่าเช่นกัน ส่วนเกี๊ยวกุ้ง ก็มีส่วนผสมของเนื้อหมู ถึง 40% ของส่วนผสมทั้งหมด  หรือ ไส้กรอกหมูรมควัน บอกแค่ว่า ส่วนผสมเป็นเนื้อสัตว์ ไม่บอกว่า เป็นเนื้อสัตว์อะไร 


          อาหารแช่แข็งเหล่านี้ มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปลองหยิบมาดูเป็นสักตัวอย่างนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง สมมุตว่า ถ้ากรณีผู้บริโภคที่เขาเป็นโรคเก๊าเค้าไม่สามารถกินไก่ได้ แต่ผู้ผลิตไม่ได้บอกว่าเป็นเนื้ออะไร มันจะมีผลอย่างไรกับผู้บริโภค หรือ ถ้าผู้บริโภคบางคนไม่ทานเนื้อหมู แต่มีส่วนผสมของเนื้อหมูในลูกชิ้นไก่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับผู้บริโภค เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบอย่างมากคือ ใครจะรับผิดชอบ? ผู้ผลิตจะรับผิดชอบหรือไม่เพราะกฎหมายเปิดช่องให้ผู้ผลิตสามารถนำส่วนประกอบที่ใช้ตั้งแต่ 10% ขึ้นไปมาใช้เป็นชื่อสินค้าได้ ผู้ผลิตส่วนหนึ่งจึงอาศัยช่องว่างตรงนี้สร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้บริโภคได้ต่อไปโดยไม่ผิดกฎหมาย ถ้าผู้บริโภคจะเข้าใจผิดไปเองว่าเป็นเนื้อหมูล้วน ก็ช่วยไม่ได้ใช่มั้ยคะ แต่ก็มีผู้ผลิตบางรายแสดงความซื่อตรงด้วยการแสดงฉลากที่ชัดเจน โดยการพิ่มข้อความให้เห็นชัด บอกส่วนผสมหลักอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ผู้บริโภครู้ข้อมูลจริงก่อนตัดสินใจซื้อ 
          ดังนั้นผู้บริโภคที่ชอบซื้ออาหารประเภทแช่เย็นแช่แข็งอยู่บ่อยๆ จำเป็นต้องดูฉลากสินค้าให้ละเอียดเพื่อช่วยให้เราได้ข้อมูลที่ถูกต้องนั่นเอง