โรคอัมพาตหรืออาการที่ตายไปครึ่งตัว เป็นลม ความดันโลหิตสูง ไขข้ออักเสบ ส่วนมากโรคเหล่านี้มักจะเกี่ยวเนื่องกัน เกิดขึ้นเพราะเลือดลมภายในร่างกายขาดความสมดุล ซึ่งกระทบกระเทือนการไหลเวียนแจกจ่ายของเลือดลม และทำให้ชีพจรกล้ามเนื้อ และกระดูกไขข้อ เกิดการแปรปรวนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏว่า ชีพจรทั้งสองข้างเต้นไม่เท่ากัน คือข้างหนึ่งเต้นเร็วอีกข้างหนึ่งเต้นช้า การเต้นของชีพจรบางครั้งต่างกัน๑๐-๒๐ ครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเกิดปฏิกิริยาโดยถือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการรู้สึกปวดเมื่อย หรือชา ขาดความรู้สึก ที่จริงส่วนบนกับส่วนล่าง ก็มักมีปัญหาเช่นกัน ได้แก่ ส่วนบนเลือดคั่ง แต่ส่วนล่างเลือดกลับเดินไม่ถึงเช่นนี้
เหตุใดการออกกำลังโดยการแกว่งแขนจึงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างชะงัด
การออกกำลังแบบนี้
มิเพียงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้แต่ยังสามารถป้องกันการเป็นลมอีกด้วย การที่คนเราเกิดเป็นลมขึ้นมา ก็เพราะการไหลเวียนของโลหิตทั้งสองด้านของร่างกายขัดแย้งกัน
ดังนั้นชีพจรจึงแสดงการไม่สมดุลกันออกมาให้ปรากฏ แพทย์จีนแผนโบราณให้คำอธิบายไว้ว่า "ชีพจรนั้นได้เริ่มจากส้นเท้า"
การทำกายบริหารแกว่งแขนมีประโยชน์ก็เพราะหลังจากแกว่งแขนแล้ว
ชีพจรจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สุขภาพปกติ ชีพจรเป็นเสมือนตัวแทนของอวัยวะภายในร่างกายของคนเรา สาเหตุของโรคอัมพาต ก็คือ ศีรษะหนัก เท้าเบา ซึ่งเท่ากับส่วนบนหนัก
ส่วนล่างว่าง กรณีเช่นนี้จึงเป็นความผิดปกติอย่างยิ่งเพราะที่ถูกต้องร่างกายของคนเรา
ส่วนบนต้องเบา และส่วนล่างต้องหนัก
โรคอัมพาต หมายถึง
อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขาอันเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขนขาส่วนนั้น ที่พบบ่อยก็คือ
อาการอ่อนแรงของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของสมอง เรียกว่า
อัมพาตครึ่งซีก(hemiplegia)
นอกจากนี้ยังอาจพบอาการอัมพาตในลักษณะอื่น เช่น
ขาทั้งสองข้างอ่อนแรง อันเกิดจากความผิดปกติ(เช่น บาดเจ็บ
ติดเชื้อ)ของไขสันหลังส่วนล่าง เรียกว่า อัมพาตครึ่งล่าง(paraplegia) หรือแขนขาทั้ง
4 ข้างอ่อนแรง
เนื่องจากไขสันหลังส่วนบนได้รับการกระทบกระเทือน(เช่น
ประสบอุบัติเหตุกระดูกต้นคอหักกดไขสันหลัง) เรียกว่า อัมพาตทั้งตัว(quadriplegia)
เป็นต้น
เนื่องจากโรคอัมพาตครึ่งซีกเป็นภาวะที่พบได้บ่อยกว่าอัมพาตในลักษณะอื่นๆ
โดยเฉพาะในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ดังนั้น
เมื่อพูดถึงโรคอัมพาตเราจึงมักจะหมายถึงโรคอัมพาตครึ่งซีกนั่นเอง
โรคอัมพาต(ครึ่งซีก) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเราขณะนี้
มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ และเป็นได้ทั้งชายและหญิง
อาการมักเกิดขึ้นฉับพลันทันที จนเรียกกันว่า “ลมอัมพาต”
โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงในสมอง
กล่าวคือ อาจมีการแตกหรือตีบตันของหลอดเลือดนี้ ทำให้เนื้อสมอง(ส่วนที่หลอดเลือดนั้นไปเลี้ยง)เกิดความผิดปกติ
และหยุดสั่งงาน จึงเป็นเหตุให้แขนขาที่สมองส่วนนั้นบังคับบัญชาอยู่เป็นอัมพาต
เปรียบเหมือนกับสวิตช์ไฟเสีย ทำให้ดวงที่สวิตช์ควบคุมอยู่นั้นไม่ติด
ที่น่าสนใจก็คือ
สมองคนเรานั้นจะสั่งงานไปยังแขนขาซีกตรงข้าม กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะสั่งงานแขนขาซีกขวา
สมองซีกขวาจะสั่งงานแขนขาซีกซ้าย
โรคอัมพาต(ครึ่งซีก)มักจะเกิดจากความผิดปกติของสมองเพียงซีกใดซีกหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้แขนขาซีกตรงข้ามเป็นอัมพาต เช่น ถ้าเป็นอัมพาตซีกขวา
ก็แสดงว่ามีความผิดปกติในสมองซีกซ้าย เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงในสมองเกิดการตีบตันหรือแตกนั้น
ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดง ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน
และเปราะ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติในผู้สูงอายุ(อายุ 70-80
ปีขึ้นไป) แต่ภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงจะเกิดขึ้นเร็วกว่าวัยอันควร
ถ้าคนๆนั้นป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง สูบบุหรี่จัด
หรือเป็นโรคอ้วนมาตั้งแต่เล็ก
ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดแดงค่อยๆเสื่อมทีละน้อย
จนถึงวัยกลางคนก็จะเริ่มก่อโทษต่อสมอง
ป้องกันได้ โดย
- อย่าสูบบุหรี่ ลดอาหารมัน
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันสัตว์ กะทิ) และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดแดงเสื่อมเร็ว
- บริโภคอาหารให้ถูกหลัก
ควรกินผักและผลไม้สดให้มากๆ และควบคุมมิให้น้ำหนักเกิน(อ้วน)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ในวัยเด็ก
- หมั่นตรวจเช็กความดันเลือดเป็นประจำ
หากมีญาติเป็นเบาหวานหรือโรคอัมพาต ควรตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำ
- ถ้าเป็นโรคความดันเลือดสูง หรือเบาหวาน
ควรติดตามรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด
ถ้าหากสามารถควบคุมระดับความดันและน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ระดับปกติได้
ก็จะลดโอกาสของการเกิดโรคอัมพาตแทรกซ้อนได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น